การประชาสัมพันธ์เป็นการวางแผนในการดำเนินการสื่อสารเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารไปยังกลุ่มเป้าหมาย
โดยมีกระบวนการดำเนินการที่มีประโยชน์ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีทัศนคติและความเข้าใจที่ดีต่อหน่วยงาน
องค์กร บริษัทห้างร้าน หรือสมาคม หัวใจของการประชาสัมพันธ์ คือ
สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประชาชนหรือกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งการสร้างแรงจูงใจให้กลุ่มเป้าหมายมีทัศนคติที่ดีต่อองค์กรไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม
เพื่อให้หน่วยงานได้รับการยอมรับจากสาธารณชนที่เกี่ยวข้องในระยะยาว (Phillips, 2009)
ในส่วนของงานห้องสมุด
การประชาสัมพันธ์เป็นกิจกรรมเพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและบริการห้องสมุดเพื่อให้ผู้ใช้รับทราบและเห็นประโยชน์ในการใช้ห้องสมุดเป็นการสร้างความเข้าใจและเพิ่ความนิยมการเข้าใช้ห้องสมุด
การส่งเสริมการตลาด (Promotion)
- การติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้เพื่อให้ทราบเรื่องต่างๆ และเกิดแรงจูงใจในการมาใช้บริการ ทำให้เกิดอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงความเชื่อ
1. To inform - ให้ข้อมูล, ข้อเ็ท็จจริง, ข่าวสาร เพื่อให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า/บริการ
2. To persuade - จูงใจให้เกิดความต้องการใช้สินค้า/บริการ
3. To remind - การสื่อสารทางการตลาดเพื่อย้ำเตือนกลุ่มเ้ป้าหมายให้เกิดการจดจำ brand
วัตถุประสงค์ของการส่งเสริมการขาย
1. ดึงลูกค้าใหม่
2. รักษาลูกค้าเก่า
3. ส่งเสริมให้ลูกค้าปัจจุบันซื้อสินค้า/บริการในปริมาณมาก
4. เพิ่มอัตราการใช้ผลิตภัณฑ์
5. ส่งเสริมการขายให้เกิดการ trade up
6. ส่งเสริมการโฆษณา
ภาพที่ 1: Promotion Goals
ภาพที่ 2: Promotion Mix
การประชาสัมพันธ์
หลักการ
1. การบอกกล่าว/ชี้แจง/เผยแพร่ให้ทราบ
2. การป้องกันและแก้ไขความเข้าใจผิด
3. การสำรวจประชามติ**
วัตถุประสงค์
1. สร้างความนิยมให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน
2. เพื่อปกป้องและรักษาชื่อเสียงขององค์กร
3. เพือสร้างความสัพันธ์ภายในและภายนอกองค์กร
องค์ประกอบของการประชาสัมพันธ์
1. องค์กรและสถาบัน
2. ข่าวสารประชาสัมพันธ์
3. เครื่องมือในการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์
4. กลุ่มเป้าหมาย
4.1 กลุ่มประชาชนภายใน
4.2 กลุ่มประชาชนภายนอก
กระบวนการและขั้นตอนในการดำเนินการ
1. วิจัยและรับฟังความเห็น
2. การวางแผนและการตัดสินใจ
3. การติดต่อสื่อสาร (ดำเนินการประชาสัมพันธ์)
4. การประเมินผล (ระหว่างดำเนินการและสิ้นสุดการดำเนินการ) PDCA
สื่อประชาสัมพันธ์
- เครื่องมือในการกระจ่ายข่าวสาร ก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจนำไปสู่ภาพพจน์ที่ดี ต่อ
- ผู้บริหาร
- พนักงาน
- สินค้า
- วิธีกาดำเนินธุรกิจ
- กิจกรรมสังคม
- เครื่องมือเครื่องใช้
- วัฒนธรรมองค์กร
- บรรยากาศ/สภาพแวดล้อม
ประเภทของสื่อ
1. สื่อสารมวลชน
2. สื่อมวลชนสัมพันธ์
3. สื่อสิ่งพิมพ์พิเศษ
4. การจัดกิจกรรมพิเศษ
5. สื่อบุคคล
6. สื่อสิ่งของ
7. สื่ออิเล็กทรอนิกส์
8. สื่อโสตทัศนูปกรณ์